วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่15





บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันที่  27  กันยายน  2556
เวลาเรียน  13.10  เวลาเข้าสอน
เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน  16.40

 



 วันนี้เป็นวันที่มีการเรียนการสอนเป็นวันสุดท้าย อาจารย์ก็ให้นักศึกษาส่งใบปั๊มคะแนนเพื่อจะได้นับคะแนนว่าใครมีตราปั๊มมากที่สุดอาจารย์ก็จะให้รางวัล












บันทึกอนุทินครั้งที่14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันที่ 20 กันยายน  2556
เวลาเข้าสอน 13.10  เวลาเข้าเรียน  13.10  เวลาเลิกเรียน  16.40


ความรู้ที่ได้รับวันนี้
         
                  วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง การเขียนแผนการสอน ว่าเราต้องทำอย่างไรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง มีัลักษณะอย่างไร  และอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มช่วยกันคิดแผนการสอนว่าจะสอนเกี่ยวกับเรื่องอะไรกลุ่มกลุมดิฉันเลือกหน่ยผลไม้ ในเรื่องก็จะมีองค์ประกอบ คือ  สีของผลไม้
ชนิดของผลไม้ สีของผลไม้  รสชาติของผลไม้  ประโยชน์ของผลไม้

บันทึกอนุทินครั้งที่13


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 13  กันยายน  2556
ครั้งที่  13  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.00  เวลาเลิกเรียน  16.40


         ในวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกแบบมุมต่างๆที่พัฒนาทักษะทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย โดยกลุ่มของดิฉันได้ทำมุมห้องครัว ซึ่งมุมนี้จะเน้นทั้งภาษาในด้านชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กรู้ว่าสิ่งของในครัวมีอะไรบ้าง

 


 


บันทึกอนุทินครั้งที่12


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 6  กันยายน  2556
ครั้งที่  12  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.00  เวลาเลิกเรียน  16.40

         ในการเรียนครั้งนี้อาจารย์ได้เริ่มเข้าสู่บทเรียนด้วยการให้ตัวแทนนักศึกษาออกไปแสดงตามท่าทางของสัตว์ชนิดต่าง โดยสื่อสารออกมาจากท่าทาง โดยแสดงเป็น งู ชะนี สุนัข ลิง ช้างและควาย


         อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง การที่ใช้คำในการสื่อสารแบบกำกวม หรือ ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ผิด



         ในช่วงเข้าสู่บทเรียน วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา โดยการเรียนในครั้งนี้ได้กล่าวถึง สิ่งแวดล้อมสภาพแวดล้อมในการเสริมทักษะทางภาษาด้านต่างๆ ซึ่งการเรียนในครั้งนี้ก็ได้บอกถึงความหมาย ความสำคัญ ลักษณะทางด้านต่างๆ ซึ่งได้รับประโยชน์ในการนำไปใช้ในอนาคตได้อย่างมาก


มุมบ้าน เด็กสามารถเรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวันและสิ่งรอบตัวของเด็กได้เป็นอย่างดี



มุมหนังสือเป็นมุมที่เด็กสามารถ เรียนรู้ภาษาได้ดีที่สุด เพราะ เด็กจะได้เห็นคำจากหนังสือและเกิดความเคยชิน ความคุ้นตา ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ทางภาษาได้เป็นอย่างดี



มุมบทบาทสมมติ เป็นมุมที่เด็กสามารถแสดง หรือเล่นในบทบาทที่ตนชอบ และได้แลกเปลี่ยนการสื่อสารกันระหว่างเพื่อนทำให้เด็กจะได้เรียนรู้การใช้ภาษา การพูด กล้าแสดงความคิดเห็น การกล่าวทำทักทายรวมทั้งการสนทนาในเรื่องต่างๆของเด็ก



มุมวิทยาศาสตร์ เป็นมุมที่เด็กได้คิด คำนวณวิเคราะ ได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เดิมกับเพื่อนรวมทั้งเด็กยังได้เรียนรู้ภาษาที่แปลกใหม่ได้อีกด้วย


บันทึกอนุทินครั้งที่11



บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 30  สิงหาคม  2556
ครั้งที่  11  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.00  เวลาเลิกเรียน  16.40

           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อการเรียนการสอนออกมากลุ่มละ 1 ชิ้น  โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อหรือจะทำเป็นเกมการศึกษาก็ได้  แต่สื่อที่ทำออกมานั้นจะต้องเกี่ยวกับภาษาของปฐมวัยด้วย
 








 


กลุ่มของดิฉันทำเป็นเกม

           ชื่อเกมว่า    :    ผลไม้ชวนคิด
           วิธีการเล่น   :   ให้เด็กๆจับคู่ผลไม้กับคำศัพท์  โดยเราจะมีบัตรคำศัพท์ไว้ให้เด็กๆนำไปติดให้ตรงกับ                                          รูปภาพของผลไม้
           ประโยชน์ที่ได้จากเกม  คือ
                                 1. เพื่อให้เด็กได้รู้จักผลไม้แต่ละชนิด
                                 2. เพื่อให้เด็กได้รู้ว่าผลไม้แต่ละชนิดเขียนแบบไหน
                                 3. เพื่อให้เด็กๆได้รู้จักสีของผลไม้
                                 4. เพื่อให้เด้กได้ฝึกสมาธิ และการสังเกต

บันทึกอนุทินครั้งที่9


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่  16 สิงหาคม  2556
ครั้งที่  9  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.00  เวลาเลิกเรียน  16.40

วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อเกี่ยวกับอาเซี่ยน  10  ประเทศ  โดยอาทำมี 4 ชิ้นได้แก่ ทำหุ่นนิ้ว  จับคู่คำสำคัญของแต่ละประเทศ  ภาพนกฮูกปากเปิด-ปากปิด  และก็ประดิษฐ์ธงชาติอาเซี่ยนแบบดึงได้  ทุกคนตั้งใจทำกันอย่างมากเพราะว่าอาจารย์บอกว่าจะเอาไปโชว์ที่มหาวิทยาลัยอุบลฯ  ทุกกลุ่มทำผลงานออกมาได้อย่างสวยงามมาก  ส่วนกลุ่มของดิฉันได้ทำสื่อจับคู่คำสำคัญของประเทศอาเซี่ยนจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มใหญ่ เพื่อที่จะแบ่งหน้าที่กันว่ากลุ่มไหนทำอะไรบ้าง  สื่อวันนี้ที่อาจารย์ให้
 
 

 

บันทึกอนุทินครั้งที่10




บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่  23 สิงหาคม  2556
ครั้งที่  10  เวลาเรียน  13.10 - 16.40 น.
เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.00  เวลาเลิกเรียน  16.40

       วันนี้เริ่มเรียนก็มีเรื่องสนุกสนานปนความสงสารมาให้ดูกัน เป็นคลิปที่เด็กน้อยทำท่าทางพฤติกรรมแปลกๆที่ทำให้เราหัวเราะได้ค่ะ  และอาจารย์ก็ได้ให้ดูเกี่ยวกับเรื่องภาษากับรูปภาพที่เราดูแล้วก็สามารถอ่านได้และเข้าใจตรงกันค่ะเป็นอีกมุมมองหนึ่งของภาษาค่ะ

 


เรียนเรื่อง สื่อการเรียนรู้ทางภาษา



สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

ความหมาย : วัสดุ  อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมแรงจูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเนื้อหาประสบการณื แนวคิด ทักษะ เจตคติ
             เช่น  หน่วยปลาทอง
ครูคนที่ 1 สอนโดย ยืนเล่าเรื่องปลาให้เด็กๆฟัง เด็กจะมองไม่เห็นภาพปลาทองจริงๆ
ครูคนที่ 2 สอนโดย ใช้สื่อภาพปลาทองมาเล่าให้เด็กฟัง เด็กเห็นภาพ แต่ไม่ได้จับต้องของจริง
ครูคนที่ 3 สอนโดย เอาปลาทองตัวจริงมาให้เด็กได้เห็น เด็กเห็นของจริง เกิดความสนใจได้มากที่สุด
    สื่อที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด คือ สื่อของจริง เพราะจะสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้มากที่สุด และพร้อมที่จะเรียนรู้ได้มาก


ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
- เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
- เข้าใจได้ง่าย
- เป็นรูปธรรม
- จำได้ง่าย รวดเร็ว และนาน

ประเภทของสื่อการสอน

1. สื่อสิงพิมพ์
คือ  สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ  เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำการใช้ประโยค

2.สื่อวัสดุอุปกรณ์
คือ  สิ่งของต่างๆ
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ สื่อชนิดนี้ดีมากเป็นของจริง เด็กได้เห็นจริงๆ และสามารถสัมผัสได้ 

3.สื่อโสตทัศนูปกรณ์
คือ  สิ่งที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ บางครั้งของจริงนั้นหายากสื่อชนิดนี้จะทำให้เด็กเห็นสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น

4.สื่อกิจกรรม
คือ  วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฎิบัติ
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ  ใช้กระบวนการคิด การปฎิบัติ การเผชิญ สถานการณ์

5.สื่อบริบท
คือ  สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ สภาพแวดล้อม 
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือ เด็กจะสามารถซึมซับจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 
 
 
 
แล้วอาจารย์ก้อให้ทำงาน

 

บันทึกอนุทินครั้งที่8



บันทึกอนุทิน

                                                             วัน/ดือน/ปี    9/ส.ค/2556

                                เวลาเข้าสอน  13.10  เวลาเข้าเรียน  13.10   เวลาเลิกเรียน  16.40


           วันนี้อาจารย์ให้แต่งนิทานโดยให้ทุกคนในห้องช่วยกันแต่งนิทานโดยมีเนื้อรื่องที่ชื่อว่า                      บทรียนของกระต่ายน้อยโดยมีเนื่อเรื่องดังนี้ค่ะลองอ่าดูว่าสนุกมั้ย
          
             มีครอบครัวกรต่ายอยู่ 1 ครอบครัว สร้างบ้านอยู่ทุ่งหญ้าสีเขียวครอบครัวกระต่ายน้อยประกอบด้วย  พ่อ  แม่ มีลูกกระต่าย 2 ตัวชอบแย่งแครอทกัน  น้องชอบแย่งแครอทของพี่และพี่ก็ยอมเสียเสียสละให้น้องเสมอเลย เพราะ เชื่อคำที่พ่อแม่สอนแต่ตัวน้องก็เอาแต่ใจเกินไปต้องให้พี่ยอมน้องทุกอย่าง
           แต่วันหนึ่งมีกระรอกตัวหนึ่งมาแย่งแครอทของน้องกระต่ายไปน้องกระต่าย็เลยนั่งร้องไห้ พี่กระต่ายก็เอาแครอทของตัวเองมาให้น้อง น้องเกิดสงสัยว่าทำไมพี่ถึงเอาแครอทของตัวเองมาให้พี่ก็เลยบอกว่า  เราเป็นพี่น้องกันเราก็ต้องแบ่งกัน  น้องกระต่ายก็เลยหักแครอทแบ่งกับพี่คนละครึ่ง และหลังจากนั้นน้องกระต่ายก็ไม่เอาแต่ใจตัวเองอีกเลย






บันทึกอนุทินครั้งที่ 7



 
บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  26/ก.ค./2556
ครั้งที่7    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10 


อาจารย์ให้วาดรูปสิ่งที่ชอบ
















การประเมิน

              1. ใช้เครื่องมือในการประเมินทีหลากหลาย
              
              2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
                  - บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
              
             3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
             
             4. ให้เด็กมีโอกาสประเเมินตนเอง

            5. ครูให้ความสนใจทั้งขบวณการและผลงาน

            6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล   

บันทึกอนุทินครั้งที่6


บันทึกอนุทิน

วัน/เดือน/ปี  19/ก.ค./2556
ครั้งที่6    เวลาเรียน 13.10-16.40  เวลาเข้าสอน    13.10

                 ในการเรียการสอนครั้งนี้อาจารย์สอนเรื่องธรรมชาติ
                 การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

        1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม

        2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก

        3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ
        4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน

        6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์

        7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา
        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่าน

 การสอนภาษาธรรมชาติ

           1.สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมีมุมที่เด่นชัด คือ มุมห้องสมุด มุมอ่าน มุมเขียน ส่วนมุมอื่นๆที่อาจจัดไว้ ได้แก่ มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก ฯลฯ 
             2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง